ความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุ

 ปัจจัยอุบัติเหตุที่เกิดจากผู้ขับขี่ยานพาหนะที่สำคัญ  ได้แก่

  1. ขาดความรู้ด้านการขับขี่ปลอดภัย  หลักเลี่ยงการชนจากการใช้เบรคหรือหักหลบไม่ถูกต้อง
  2. ดื่มสุราหรืออ่อนเพลียก่อนการขับขี่ยานพาหนะ
  3. พฤติกรรมเสี่ยง  เช่น  ไม่เปิดไฟหน้าเวลากลางคืน  ฝ่าสัญญาณจราจร ฯลฯ

 

Raider Training - การฝึกขับขี่จักรยานยนต์

 

Evasive Action - วิธีหลีกเลี่ยงการชน

 

ใบขับขี่

 

Alcohol Use - การดื่มแอลกอฮอล์

 

Vehicle Factors Maintenance - ปัจจัยการบำรุงรักษารถจักรยานยนต์

 

รูปแบบการชนที่พบบ่อยที่สุด

"รถคู่กรณีเลี้ยวตัดหน้ารถจักรยานยนต์  เนื่องจากผู้ขับขี่ไม่ได้เปิดไฟหน้ารถ  ทำให้คู่กรณีมองไม่เห็นรถจักรยานยนต์ที่วิ่งตรงมา"

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์อุบัติเหตุ

 

Scene Diagram

 

พลศาสตร์ของยานพาหนะ (Dynamics)

การเลื่อนที่ก่อนชน (รถจักรยานยนต์)

  • เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ประมาณ 40 กม./ชม.
  • ตำแหน่งที่เห็นคู่กรณี : 11 นาฬิกา
  • ความพยายามหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ : เบรคหลัง
  • ความเร็วขณะชน : 20 กม./ชม.

การเลื่อนที่ก่อนชนของคู่กรณี

  • เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ประมาณ 40 กม./ชม.
  • ตำแหน่งที่เห็นคู่กรณี : 2 นาฬิกา
  • ความพยายามหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ : ไม่ได้กระทำ
  • ความเร็วขณะชน : 40 กม./ชม. (ไม่มีการหลีกเลี่ยง)

 

แผนผังบริเวณจุดเกิดเหตุ

 

การจำลองภาพของการชนโดยด้านหน้า Kawasaki ช ชนด้านหน้าขวาของรถ Vespa

 

 

  • ความเร็วขั้นต่ำของรถ Kawasaki ก่อนชน = 35 กม./ชม. (โดยประเมินจากระยะทางที่ควรจะหยุดจนถึงจุดชนหรือประเมินจากการยุบตัวของฐานล้อรวมความเร็วที่ลดลงจากการเบรคที่กระทำไม่เต็มที่)
  • ความเร็วขั้นต่ำของรถ Kawasaki ขณะชน = 25 กม./ชม. (โดยประเมินจากการยุบตัวของฐานล้อ)
  • ความเร็วขั้นต่ำก่อนชนและขณะชนของรถ Vespa = 20 กม./ชม. (โดยประเมินจากรัศมีการเลี้ยวของรถ Vespa)

 

ตำแหน่งความรุนแรงของการบาดเจ็บต่อผู้ขับรถจักรยานยนต์ (กรุงเทพฯ)

 

 

ตำแหน่งความรุนแรงของการบาดเจ็บต่อผู้ขับรถจักรยานยนต์ (ต่างจังหวัด)

 

 

 

Countermeasures - มาตรการแก้ไขปัญหา

  1. ปัจจัยด้านผู้ขับขี่
    • ปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมาย (การดื่มสุรา, ขับขี่กลางคืนโดยไม่เปิดไฟหน้า, การสวมหมวกนิรภัย, พฤติกรรมเสี่ยง, การข้ามถนนและการบรรทุกวัตถุขนาดใหญ่  เป็นต้น)
    • ปรับปรุงการออกใบขับขี่
    • สนับสนุนการสวมเครื่องป้องกัน  โดยเฉพาะหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน
    • เปิดสอนหลักสูตรขับขี่ปลอดภัย  โดยเฉพาะวิธีหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่ได้ผล
    • ให้การศึกษา  ประชาสัมพันธ์ถึงผลเสียในการดื่มสุรา ความสำคัญในการเปิดไฟหน้า ฯลฯ
  2. ปัจจัยด้านพาหนะ
    • ปรับปรุงระบบเปิดไฟหน้าโดยใช้ระบบไฟเปิดอัตโนมัติหรือติดเซนเซอร์ให้ไฟหน้าเปิดเวลาที่แสงสว่างไม่เพียงพอ
    • ปรับปรุงการตรวจสอบสภาพก่อนต่อทะเบียน
    • ให้ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ที่ถูกต้อง
    • นำระบบเบรคร่วม (Combined breaking system) มาใช้
  3. มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
    • ปรับปรุงระบบเตือนสิ่งก่อสร้างบนผิวจราจรทั้งสัญญาณไฟและแผ่นสะท้อนแสง  รวมทั้งบังคับใช้ให้รถบรรทุกมีแผ่นสะท้อนแสง
    • ปรับปรุงสัญญาณจราจร  เช่น  สัญญาณไฟ, ติดตั้งป้ายหยุด  ป้ายให้ทาง  โดยเฉพาะจากซอยไปสู่ถนนใหญ่, จัดให้มีทางเลี้ยงขวาเท่านั้น, แก้ไขป้ายเตือนทางโค้ง
    • ปรับปรุงสิ่งกีดขวางพื้นผิวจราจรและสิ่งที่ปิดกั้นทรรศนียภาพของผู้ขับขี่ที่ใช้แบ่งช่องเดินรถ
    • ปรับปรุงการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง  เช่น  การใช้แผ่นสะท้อนแสงที่มีขนาดเล็กและแบนเรียบบนผิวจราจร
    • ปรับปรุงระบบการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์  เพื่อนำมาช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกายภาพ