เกี่ยวกับเรา

 

 

ประวัติการก่อตั้งอาคารสถาบันหมวกนิรภัย

          ได้ก่อสร้างขึ้นสืบต่อเนื่องจากโครงการวิจัยอุบัติเหตถรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยและมาตรการการแก้ไข (2540 - 2543) ของศาสตราจารย์นายแพทย์วีระ  กสานติกุล (หัวหน้าโครงการวิจัย) ระดับ 11  คณะแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกร์มหาวิทยาลับและคณะฯ ซึ่งได้ทำงานเก็บข้อมูลด้านอุบัติเหตุมาเป็นเวลาหลายปี  จนทำให้มองเห็นปัญหาต่าง ๆ มากมายที่เป็นปัจจัยในการส่งเสริมการเกิดอุบัติเหตุ  และอันตรายต่อการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ยังได้นำประสบการณ์จริงจากภาคสนามที่เก็บบันทึกไว้เผยแพร่สู่สาธารณชนเพื่อแนะนำและให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ จนเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ต่อมาเมื่อ ศาสตราจารย์นายแพทย์วีระ กสานติกุล ได้ย้ายมาเป็นอาจารย์สอนที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ก็ได้รับการสนับสนุนจากคณะเภสัชศาสตร์ ให้สานต่องานวิจัยที่ได้ทำไว้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัย ดังนั้นสาเหตุหลักสำคัญประการหนึ่ง คือ การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและการป้องกันการบาดเจ็บ(การสวมหมวกนิรภัย) จึงได้ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการพิจารณาเพื่อยกระดับการป้องกันการเป็นอันตรายถึงขั้นสูญเสียชีวิต นี่จึงเป็นที่มาในการจัดทำโครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบหมวกนิรภัยขึ้น

          ในการนี้ได้รับความอนุเคราะห์เรื่องพื้นที่ในการก่อสร้างอาคารสถาบันหมวกนิรภัย ภายในอาณาบริเวณพื้นที่รับผิดชอบของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ต่อมาเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ในระยะเริ่มแรกโครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบหมวกนิรภัยนั้น การปฏิบัติงานของศาสตราจารย์นายแพทย์ วีระ กสานติกุล และทีมผู้ช่วยวิจัย ได้รับการสนับสนุนจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาทิเช่น ห้องทำงานชั่วคราว อุปกรณ์สำนักงาน ความช่วยเหลือในการทำงาน และการติดต่อประสานงาน ด้วยดีตลอดมา

 

ผู้ก่อตั้งสถาบันหมวกนิรภัย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระ  กสานติกุล

  • ศาสตราจารย์ ระดับ 11 คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติของสภาวิจัยแห่งชาติปีพุทธศักราช 2546  สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • หัวหน้าโครงการจัดตั้งสถาบันหมวกนิรภัย  คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • หัวหน้าโครงการวิจัยอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยและมาตรฐานการแก้ไข (2540 - 2543)
  • มีผลงานวิจัยกว่า 150 เรื่อง ตีพิมพ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  และตำราทางการแพทย์อีกจำนวนมาก
ประวัติส่วนตัว

ศาสตราจารย์  นายแพทย์วีระ  กสานติกุล

เกิดเมื่อวันที่  15  กรกฎาคม  พ.ศ.  2491

ที่อยู่ :  2/20  อาคารรีเจนท์รอยัลเพลส  1  ซอยมหาดเล็กหลวง 1 กทม. 10330

โทร. 0 - 2651 - 8204

ที่ทำงาน : คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  พระราชวังสนามจันทร์  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม  73000

โทร.  0- 3425 - 3840 - 4 ต่อ 2288

โทรสาร : 0 - 3425 - 5801

E-mail : vira@email.pharm.su.ac.th

ประวัติการศึกษา
คุณวุฒิ ปีที่จบ สถานศึกษา

วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม)

2514

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) 2516 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ป.คลินิกชั้นสูง (พยาธิวิทยา) 2518 บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
*Certificate Anatomic Pathology 2522 Venderbilt University, ประเทศสหรัฐอเมริกา
*Certificate Neuroscience 2525 University of California at Los Angeles, ประเทศสหรัฐอเมริกา
*ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธีอานันทมหิดล  เดินทางไปฝึกอบรมด้านพยาธิวิทยาและประสาทพยาธิวิทยา
ประวัติการทำงาน

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง

  • ศาสตราจารย์ ระดับ 11 คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ผู้ดำรงคุณวุฒิ  คณะกรรมการวิจัยคณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ที่ปรึกษาสถาบันนิติเวชวิทยา  โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการศึกษาป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางบกวุฒิสภา
  • กรรมการศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน
  • อนุกรรมการด้านเชี่ยวชาญฝ่ายวิชาการและกลั่นกรองยุทธศาสตร์  เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย
  • Editorial Board of Neuropathology, (an international Journal sponsored by the Japanese Neuropathology)

อดีต - ตำแหน่งวิชาการ

  • 2518 - 2528 - อาจารย์คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัย
  • 2528 - 2531 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์  คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2531 - 2533 - รองศาสตราจารย์  คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2533 - 2540 - ศาสตราจารย์ (ระดับ 9 - 10) คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2540 - 2544 - ศาสตราจารย์  ระดับ 11  คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2529 - 2540 - กรรมการบริหารงานวิจัยเงินทุนรัชดาภิเษกสมโภช  คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2524 - 2536 - กรรมการประสานงานกิจการกล้องจุลทรรศ์อิเลคตรอน  คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2526 - 2540 - กรรมการจัดและดำเนินการสอนวิชาประสาทศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2534 - 2540 - กรรมการบริหารเงินทุนวิจัย  มูลนิธิกระจกอาซาฮี (ประเทศญี่ปุ่น) และสถาบันวิจัยและพัฒนา  คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2544 - 2545 - ประธานคณะกรรมการวิจัย  คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทุนวิจัยที่ได้รับ
  • 2522 - 2525 - ทุนวิจัย US Public Health Service Grant (USPHS) POI HD 05615, 04612, 04512, NINCDS 02332 และ NINCDS NS 03802
  • 2526 - 2527 - ทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช  หัวหน้าโครงการวิจัยเนื้องอก  Medulloblastomas  โดยเน้นการแตกตัวของเซลเนื้องอกด้วยวิธีการ Immunohistochemistry
  • 2527 - 2528 - ได้รับพระราชทานทุนวิจัยมูลนิธิอานันทมหิดล  ศึกษาการแบ่งชนิดของ Pituitary adenomas.
  • 2537 - 2539 - หัวหน้าโครงการทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง Serotonin และ Nitric oxide ในกระบวนการควบคุม Trigeminovascular system.
  • 2540 - 2543 - หัวหน้าโครงการวิจัยอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยและมาตรการการแก้ไข (สัญญาระหว่างบริษัท Honda Motor และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

          นอกจากจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานมูลนิธิอานันทมหิดล  เพื่อเดินทางไปรับการฝึกอบรม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาในระหว่างปีพุทธศักราช 2519 - 2525 แล้ว  ภายหลังเดินทางกลับมาปฏิบัติราชการที่ประเทศไทย  ศาสตราจารย์นายแพทย์  วีระ  กสานติกุล  ยังได้รับพระราชทานทุนส่งเสริมบัณฑิตมูลนิธิอานันทมหิดลและทุนส่งเสริมอาจารย์ผู้อุทิศตนเป็นนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความร่วมมือกับต่างประเทศ
2540 - ปัจจุบัน
  • Head protection Research Laboratory (USA)
  • Honda R&D (Japan)
2544 - ปัจจุบัน
  • Toyama  Medical and Pharmaceutical University (Japan)
  • Dynamic Research Co. (USA)
  • Collision and injury Dynamics (USA)
  • University of Florida, Gainesville, Florida
  • National Forensic Science Training Center, USA
เครื่องราชอิสริยากรณ์ที่ได้รับ
  • ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ตม) เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2528
  • ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย (คม) เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2532
  • ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก (ตช)  เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2536
  • ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ปม)  เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2537
  • ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ปช)  เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2540
  • มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)  เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2543

 

 

 

 

 

 

(กำลังอยู่ในขั้นตอนการสรรหา)

หัวหน้าโครงการวิจัย

 

 

 

 

นายกาญจน์  ทิพย์ขจร

ตำแหน่งนักวิเคราะห์เภสัชภัณฑ์

E-mail : khan@su.ac.th

ติดต่อภายใน : 24185

ติดต่อสายนอก : 034-273059

 

 

 

นายสาโรจน์  คำมหา

ตำแหน่งนักวิเคราะห์เภสัชภัณฑ์

E-mail : saroj.k@su.ac.th

ติดต่อภายใน : 24185

ติดต่อสายนอก : 034-273059